วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

NongZii: shape tween

NongZii: shape tween: "Shape Tween นั้น แปลตัวตัวคือการทำ Animation เปลี่ยนแปลงรูปทรง ถ้าอิงตามหลักการของ Tweening ก็หมายความว่า โปรแกรมจะคำนวณรูปทรงหนึ่งให้เปลี่..."

Mods3llerd: Motion Tween

Mods3llerd: Motion Tween: "Motion Tween เป็นการเคลื่อนที่ของภาพจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง หรือเปลี่ยนคุณสมบัติจากแบบหนึ่งเป็นอีกแบบหนึ่ง Step 1 ให้เราสร้างไฟล์เอกสาร ..."

F e 3 l i n 9: การสร้างFrame by Frame

F e 3 l i n 9: การสร้างFrame by Frame: "ภาพเคลื่อนไหว แบบ Frame by frame ในบทนี้จะเป็นการเรียนเกี่ยวกับการสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบ Frame by Frame ซึ่งแบบนี้จะเป็นการนำภาพหลาย ๆ ภาพที่..."

วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Mask Layer

แมสก์ เลเยอร์ เป็นการมองทะลุวัตถุลงไปเหมือนไฟฉายที่เราส่องเวลากลางคืน เราก็จะมองเห็นเฉพาะบริเวณที่ส่องไฟเท่านั้น
เราสามารถนำความรู้เรื่อง Motion Tween, Tween Shape, Motion Guied เข้ามาใช้ประกอบได้ด้วย
ตัวอย่างการทำ Mask Layer



สร้างพื้นหลังที่เลเยอร์ bg
ในตัวอย่างนี้ import รูปดารา เข้ามาจะได้ดูสดชื่นหน่อย และทำการเคลื่อนไหวถึงเฟรมที่ 20 ดังนั้นให้คลิ๊กเฟรมที่ 20 แล้วกดปุ่ม F5
สร้างเลเยอร์ขึ้นมาใหม่ตั้งชื่อว่า circle
ใช้ความรู้เรื่อง Motion Tween, Tween Shape, Motion Guied เข้ามาช่วยสร้างการเคลื่อนไหว

ในตัวอย่างนี้จะใช้ Motion Tween
1. โดยสร้างวงกลมขึ้นมา 1 วง
(ที่เฟรมแรกของเลเยอร์ circle)
2. หลังจากนั้นทำวงกลมให้เป็นซิมโบล
โดยการกด F8 หรือ คลิ๊กที่เมนู modify
เลือก convert to symbol
3. จากนั้น คลิ๊กเพิ่ม keyframe ที่เฟรมที่ 5 แล้วนำเมาส์ไปคลิ๊กที่เฟรมที่อยู่ระหว่าง 1 - 5
เลือก Tween เป็นแบบ Motion ทำอย่างนี้ทุกเฟรมที่ 5
จนถึงเฟรมที่ 20






คลิ๊กขวาที่เลเยอร์ circle
คลิ๊กคำสั่ง Mask










ผลที่ได้จากการ Mask
เลเยอร์ bg จะอยู่ล่างเลเยอร์ circle แสดงว่าถูก Mask อยู่
ให้สังเกตว่า เลเยอร์ทั้งสองจะถูกล็อคด้วยแม่กุญแจ แสดงว่าเมื่อ Mask แล้วห้ามแก้ไขข้อมูลใดๆ
จะสามารถมองเห็นเฉพาะส่วนที่อยู่ในบริเวณวงกลมเท่านั้น
ดังนั้นถ้าวงกลมเคลื่อนที่ไปที่ใหนก็จะมองเห็นที่นั่น

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข้อ 3

จงยกตัวอย่างภาพยนต์ animation ของไทยมา 1 เรื่อง และอธิบายถึงแนวคิดภาพยนต์ รูปแบบ เทคนิคที่ใช้ รวมทั้งลักษณะการสร้างผลงานมาพอสังเขป
- ก้านกล้วย 2
ก้านกล้วยภาคแรกถือเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตก้านกล้วย แต่ก้านกล้วย 2 ส่วนภาค 2 นั้น ต้องการให้เห็นว่าชีวิตของก้านกล้วยต่อจากนั้นเป็นอย่างไร รูปแบบภาพยนต์คือแนว แฟนตาซี และเทคนิคที่ใช้คือการใช้โปรแกรม Massive (ซอฟต์แวร์ระดับฮอลลีวู้ด) อย่างสมบูรณ์แบบ ภาพยนต์ อนิมชั่นเรื่องก้านกล้วย เป็นหนังเหมือนกึ่งประวัติศาสตร์ ที่จะบอกความเป็นมา และความสำคัญของช้าง
ในอดีต
จากประวัติศาสตร์ สู่การผจญภัย...ครั้งใหม่

ชัยชนะจากสงครามยุทธหัตถี ก้านกล้วยได้รับการแต่งตั้งเป็น เจ้าพระยาปราบหงสาวดี เป็นช้างทรงที่พระนเรศวรทรงใช้ในการศึกสงครามทุกครั้ง รวมถึงสงครามครั้งใหม่ของกรุงหงสาวดี ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่วันข้างหน้า...

แต่...ก่อนที่การเริ่มทัพจะเริ่มขึ้น เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน.... ทหารหงสาบุกมาจับชาวบ้านอยุธยาไปเป็นเชลย และได้นำชบาแก้วและลูกแฝดของก้านกล้วยไปด้วย ก้านกล้วย ไม่มีหนทางอื่น นอกจากต้องแอบหลบหนีจากกรุงศรีอยุธยา เพื่อช่วยลูกเมียกลับมาให้เร็วที่สุด ครั้งนี้เขาต้องต่อสู้เพียงลำพังบนดินแดนของศัตรู ต้องเผชิญหน้ากับช้างศึกที่แข็งแกร่งที่สุดอย่าง...งานิล พร้อมด้วย อองสา มหาอำมาตย์จอมเวทย์มนตร์ นี่คือ...ภารกิจ ที่ใหญ่หลวง ยิ่งกว่าครั้งใด

ข้อ 2

จงวิเคราะห์และเปรียบเทียบลักษณะความแตกต่าง ข้อดี ข้อเสีย จุดเด่น จุดด้อย รวมทั้งปัญหา animation ในประเทศไทย
- หากจะเปรียบเทียบ animation ระหว่างประเทศไทยกับ ประเทศอื่น ๆ นั้น ประเทศไทยยังถึงว่าตามหลังประเทศอื่นอยู่มาก
เช่น ภาพยนต์ animation เรื่อง ก้านกล้วย (ของไทย) กับ เรื่อง toy story (ของต่างประเทศ) จะเห็นความต่างได้ชัด
ไม่ว่าจะเป็น ฉาก ตัวละคร สี การทำอนิเมชั่น
- ข้อดี
1.ในการทำอนิเมชั่นในไทยคือ ใช้งบประมาณ ไม่มาก เหมือนกับต่างประเทศ
2.ให้บุคลากรน้อยกว่าต่างประเทศในการทำภาพยนต์อนิเมชั่น 1 เรื่อง
- ข้อเสีย
1.งานที่ออกมาจะไม่เนียน ไม่สมจริงเท่าที่ควร
2.ในเมื่อใช้คนน้อยก็จะทำให้งาน 1 ชิ้น กินเวลานานมาก
- ปัญหา
คนไทยให้ความสนใจกับการทำอนิเมชั่น กราฟฟิก น้อย จึงทำให้การส่งเสริมทางด้านนี้น้อยมาก หากเทียบกับต่างประเทศ
เค้าจะให้ความสนใจกับการทำอนิเมชั่นมาก มีการใส่ใจในทุกรายละเอียดทุกขั้นตอนในการทำ ภาพยนต์อนิเมชั่น จึงทำให้ผลงาน
ออกมาดีเยี่ยม

ข้อ1

จงอธิบายถึงที่มา ความหมายและประเภทของ Animation พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ
- แอนิเมชั่น(animation) หมายถึง การสร้างภาพเคลื่อนไหวโดยการฉายภาพนิ่ง ๆ หลาย ๆ ภาพต่อเนื่องกันด้วยความเร็วสูง
การใช้คอมพิวเตอร์กราฟฟิกส์ในการคำนวณสร้างภาพจะเรียกการเสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบการเคลื่อนที่หยุด สตอปโมชัน
(stop motion)โดยหลักการแล้วไม่ว่าจะสร้างภาพหรือแฟรมด้วยวิธีใดก็ตามเมื่อนำภาพดังกล่าวมาฉายต่อกันด้วย
ความเร็ว ตั้งแต่ 16 เฟรมต่อวินาทีขึ้นไป เราจะเห็นเหมือนว่าภาพดังกล่าวเคลื่อนไหวได้ต่อเนื่องกัน ทั้งนี้เนื่องมาจากเห็นภาพติดตา
- ประเภทของอนิเมชั่นมี 3 ชนิดคือ
1. Drawn Animation คือแอนิเมชั่นที่เกิดจากการวาดภาพหลายๆพันภาพ แต่การฉายภาพเหล่านั้นผ่านกล้องอาจใช้เวลา
ไม่กี่นาทีข้อดีของการทำแอนิเมชั่นชนิดนี้คือ มีความเป็นศิลปะ สวยงาม น่าดูชม แต่ข้อเสีย คือ
ต้องใช้เวลาในการผลิตมาก ต้องใช้แอนิเมเตอร์จำนวนมากและต้นทุนก็สูงตามไปด้วย


2. Stop Motion หรือเรียกว่า Model Animation เป็นการถ่ายภาพแต่ละขณะของหุ่นจำลองที่ค่อยๆขยับ
อาจจะเป็นของเล่นหรืออาจจะสร้างตัวละครจาก Plasticine วัสดุที่คล้ายกับดินน้ำมันโดยโมเดลที่สร้างขึ้นมา
สามารถใช้ได้อีกหลายครั้งและยังสามารถผลิตได้หลายตัว ทำให้สามารถถ่ายทำได้หลายฉากในเวลาเดียวกัน
แต่การทำ Stop Motmotion นั้นต้องอาศัยเวลาและความทุ่มเทมาก เช่น การผลิตภาพยนตร์เรื่อง
James and the Giant Peach สามารถผลิตได้ 10 วินาทีต่อวันเท่านั้น วิธีนี้เป็นงานที่ต้องอาศัยความอดทนมาก


3. Computer Animation ปัจจุบันมีซอฟท์ที่สามารถช่วยให้การทำแอนิเมชั่นง่ายขึ้น เช่น โปรแกรม Maya,
Macromediaและ 3D Studio Max เป็นต้น วิธีนี้เป็นวิธีที่ประหยัดเวลาการผลิตและประหยัดต้นทุนเป็นอย่างมาก
เช่น ภาพยนตร์เรื่องToy Story ใช้แอนิเมเตอร์เพียง 110 คนเท่านั้น

E-Card(วันแม่)